สวัสดีครับ จากคราวที่แล้วงานเทศกาลชมดอกซากุระในฤดูใบไม้พลิไปแล้ว เข้าหน้าร้อนของที่ญี่ปุ่นแล้ว ต้องบอกว่าที่ญี่ปุ่นนี้มีงานเทศกาลหลายที่และหลายงานเลยครับ แต่พูดถึงในวันนี้จะงานเทศกาลหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากงานหนึ่งที่ญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้เลยครับ นั้นก็คือ งานเทศกาลทานาบาตะ (七夕まつり)
ภาพจาก Doogle วันทานาบาตะ ปี 2009
งานเทศกาลทานาบาตะ หรือจะเรียกอีกชื่อว่า งานเทศกาลฉลองดวงดาวของญี่ปุ่น ซึ่งโดยจะจัดขึ้นในวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปี โดยต้นกำเนิดของงานเทศกาลนี้มาจากตำนานโบราณของญี่ปุ่น ที่มีชื่อว่า ตำนานทางช้างเผือก โดยรายละเอียดก็คือ
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วที่ฝั่งแม่น้ำด้านเหนือของอามาโนะกาว่า (天の川) ซึ่งแปลว่าทางช้างเผือกบนสวรรค์ มีลูกสาวของเทพผู้ครองสวรรค์นางหนึ่งชื่อว่าโอริฮิเมะ (おりひめ)
เจ้าหญิงโอริฮิเมะเป็นคนที่สวยและขยันขันแข็งทำงานไม่ยอมหยุด โดยงานประจำของเจ้าหญิง ก็คือการทอผ้า ผ้าที่ผ่านการทอโดยเจ้าหญิงนั้นมีความสวยงามและประณีต และเป็นที่พึงพอใจของเหล่าเทพและบิดาของนางเป็นอย่างมาก และวันหนึ่งบิดามีความเห็นว่า ถึงเวลาอันสมควรที่เจ้าหญิงจะต้องมีคู่ครอง เทพผู้ครองสวรรค์จะได้ทำการประกาศหาคู่ให้กับเจ้าหญิง และหนุ่มที่ถูกใจต้องใจเจ้าหญิงก็คือ ชายหนุ่มที่ชื่อฮิโกโบชิ (ひこぼし)
ฮิโกโบชินั้นเป็นคนเลี้ยงวัวอยู่ฝั่งด้านใต้ของทางช้างเผือก เป็นคนที่ขยันขันแข็งเช่นเดียวกับเจ้าหญิงโอริฮิเมะ ร่างกายกำยำและสง่างาม ด้วยเหตุนี้ทำให้บิดาเห็นถึงความเหมาะสมและความชอบพอของสองคน จึงอนุญาตให้ทั้งสองคนได้แต่งงานกัน แต่หลังจากแต่งงานแล้ว ทั้งสองนั้นกลับไม่ขยันเอางานเอาการเหมือนอย่างที่เคยเป็น ไม่ยอมทำงาน วันๆเอาแต่เสพสุขหลงระเริงกับความรักจนลืมหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ทำให้บิดานั้นโกรธเป็นอย่างมาก และสั่งลงโทษให้ทั้งสองแยกจากกัน ไปอยู่คนละทิศของทางช้างเผือก เมื่อแยกจากกัน เจ้าหญิงโอริฮิเมะก็โศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างมาก เจ้าหญิงร่ำไห้จนน้ำตาแทบจะเป็นสายเลือด จนสุดท้ายก็ทำให้เทพผู้ครองสวรรค์ผู้เป็นบิดาเกิดความสงสาร จึงได้ลดหย่อนโทษ โดยการอนุญาตให้เจ้าหญิงสามารถข้ามทางช้างเผือกไปพบฮิโกโบชิได้หนึ่งครั้ง โดยแลกกับการกลับมาทำงานทอผ้าอย่างเดิม
ดังเหตุนี้ ในทุกๆ ปีที่ทางช้างเผือกจะออกมาปรากฏบนท้องฟ้า ก็จะเป็นวันเวลาที่โอริฮิเมะและฮิโกโบชิจะได้มาพบกันอีกครั้ง และในวันนั้นเองก็จะตรงกับวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปีนั้นเอง
ขอบคุณภาพจาก Katrinainjapan wordpress
จริงๆแล้วงานเทศกาลนี้ จัดในหลายพื้นที่ทั่วประเทศญี่ปุ่น แต่สำหรับสถานที่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ก็คือ เมืองฮิระซึกะ (平塚) โดยการเดินทางก็คือ นั่งรถไฟสาย JR Tokaido line จากโตเกียวมาลงที่สถานีฮิระซึกะได้เลย เวลาที่ใช้ในการเดินทางก็จะประมาณ 1 ชั่วโมงจากโตเกียว และแน่นอน JR Pass สามารถใช้ได้กับรถไฟขบวนนี้ครับ
ขอบคุณภาพจาก Wikimedia
สำหรับครั้งนี้ คนเค้าว่าที่ไหนดัง ผมก็ต้องไปลองครับ ใช่ครับ ที่เมืองฮิระซึกะ เมืองนี้ เรียกได้ว่ามีชื่อเสียงมากๆสำหรับงานเทศกาลทานาบาตะ แต่ปีนี้ เนื่องจากวันที่ 7 เดือน 7 นั้นเป็นวันจันทร์ครับ ทำให้งานปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยครับ เพื่อให้คนที่ต้องการมาร่วมงานสามารถมางานได้ครับ โดยจะจัดวันที่ 4-6 ตามโปสเตอร์เลยครับ
ขอบคุณภาพจาก Tanabata Hiratsuka
ซึ่งแผนที่ในงานก็จะเป็นตามนี้เลยครับ
ขอบคุณภาพจาก Tanabata Hiratsuka
เมื่อมาถึงงานบอกได้คำเดียวว่า งานเทศกาลนี้คนจะเยอะมากๆ แม้ว่าเมืองนี้จะเป็นเมืองที่ไม่ใหญ่มาก แต่พอมีงานนี้เมื่อไร เมืองนี้คนล้นเลยทีเดียวครับ
โดยลักษณะงาน ตามความคิดผมก็ออกแนวงานวัดบ้านเรานิดๆครับ เพียงแต่อาจจะเป็นงานวัดในสไตส์ญี่ปุ่น ซึ่งผมคิดว่าก็เป็นความแปลกและความสนุกไปอีกแบบนะครับ
อย่างที่กล่าวถึงตำนานไป ฉะนั้นในงานหลักๆก็จะมีรูปเพื่อเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตำนานครับ
แต่ถ้ามีแต่ตำนาน ก็อาจจะไม่น่าสนใจหรือตื่นเต้น ผู้จัดงานก็เลยต้องมีการประยุกต์บ้างครับ มิคกี้จากดิสนีย์เลยถูกนำใช้ครับ
ซึ่งถ้ากลัวกระแสไม่แรงพอ จัดไปเลยครับ เจ้าหญิงนำ้แข็ง หนังจากดิสนีย์ ใหม่อินเทรน และสร้างรายได้มากมายในประเทศญี่ปุ่นครับ
งานเทศกาลนี้ เปิดให้เดินเที่ยวได้ตั้งแต่เช้าถึงเย็นครับ โดยพอตกเย็นโคมที่ห้อยก็จะเริ่มเปิดไฟ เพื่อเพิ่มความสวยงาม ตระการตาด้วยครับ
พู่ในยามค่ำคืน
แม้แต่ศาลเจ้าที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงก็มีการประดับ ตกแต่งให้เข้ากับงานด้วย ซึ่งหลังจบงาน คนญี่ปุ่นหลายคนก็เข้าไปที่ศาลเจ้าเพื่อขอพรอีกด้วยครับ
จากบรรยากาศโดยรอบของงาน ต่อไปมาดูกันว่าในงานมีอะไรกันบ้าง เริ่มต้นที่ของกินก่อนเลย ถ้าจะมางานเทศกาล แล้วไม่มีของให้ซื้อและเดินกินก็กะไรอยู่ใช่ไหมครับ บอกได้เลยครับ ว่าของกินในงานนี้ มากจนถ่ายรูปมาเก็บไว้ไม่หมดจริงๆครับ ไม่ว่าจะเป็นทาโกะยากิ ที่มาเป็นเรือเลยครับ
หรือจะเป็นยากิโซบะอาหารญี่ปุ่นที่คนไทยรู้จักดี
หรือขนมอะไรไม่รู้ หน้าตาแปลกๆแต่รสชาติเหมือนกูลิโกะเพลสบ้านเรา แต่เส้นบางกว่า
หรือแตงกวาดองที่คนไทยแทบจะไม่กินกัน
เนื้อปูปิ้งพร้อมทาซอสไตส์ญี่ปุ่น (ส่วนตัวรสชาติเหมือนปูอัดบ้านเราเลยครับ)
หรือนำตัวการ์ตูนญี่ปุ่นมาผสมผสานเพื่อเรียกลูกค้า
และขนมแบบบ้านเราก็มีครับ อย่างขนมสายไหม ที่มาปั้นกันสดๆแบบบ้านเราเลยครับ
นอกจากของกินแล้ว ในงานก็จะมีโชว์ครับ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงฝีมือสไตส์ญี่ปุ่น อย่างการตีกลองญี่ปุ่น
บ้านผีสิงก็มีนะครับ ๕๕๕
หรือบ้านผีสิงแบบผีญี่ปุ่นแท้ๆก็มีเหมือนกันครับ ๕๕๕
นอกจากนี้แล้ว ในงานเทศกาลก็มักจะมีคนญี่ปุ่นที่มาใช้เวลาอยู่กับครอบครัว กับลูกในงานเทศกาลครับ
ทำกิจกรรม หรือเล่นเกมกับลูก